หลักการสังเกตคำภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย


ภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย


ภาษาบาลี และสันสกฤตในภาษาไทย 


ในบรรดาภาษาต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อภาษาไทยมากที่สุด คือ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต คำยืมในภาษาไทยที่ยืมมาจากทั้งสองภาษานี้ เป็นคำที่มีใช้ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมากทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาบาลีเข้ามาทางศาสนาพุทธ ส่วนภาษาสันสกฤตเข้ามาทางศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีเรื่องมหาภารตะและรามายณะ
ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีหลักสังเกตดังนี้

  1. มักเป็นคำหลายพยางค์ เช่น กษัตริย์ พฤกษา ศาสนา อุทยาน ทัศนะ ฯลฯ
  2. ตัวสะกดมักไม่ตรงตามมาตรา เช่น เทวัญ เนตร อากาศ พิเศษ อาหาร ฯลฯ
  3. นิยมมีตัวการันต์ เช่น กาญจน์ เกณฑ์ มนุษย์ สัมภาษณ์ อาทิตย์ ฯลฯ
  4. ประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ภ ศ ษ ฤ ฤๅ เช่น พยัคฆ์ อัชฌาสัย กฎ ปรากฏ สัณฐาน ครุฑ วัฒนา เณร โลภ ศึกษา บุรุษ ฤทัย ฯลฯ ยกเว้น ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ศอก ศึก เศิก เศร้า ทั้งหมดนี้เป็นคำไทยแท้

ภาษาบาลี เป็นภาษาตระกูลเดียวกับภาษาสันสกฤต คือ ภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ข้อสังเกตและตัวอย่างคำภาษาบาลี นิยมใช้  เช่น กีฬา จุฬา ครุฬ นาฬิกา วิฬาร์ อาสาฬห ฯลฯ ประสมด้วยสระ อะ อิ อุ แทน  ในภาษาสันสกฤต เช่น อิทธิ อิสิ
นิยมใช้พยัญชนะ 2 ตัวซ้อนกัน กิตติ นิพพาน ปัจจัย ปัญญา บุคคล บัลลังก์ ภัตตา มัจจุราช เมตตา วิญญาณ สัญญาณ อัคคี อนิจจา
แบ่งพยัญชนะเป็นวรรคตามฐานที่เกิดและมีหลักตัวสะกดตัวตามที่แน่นอน ดังนี้
พยัญชนะวรรคของภาษาบาลี


หลักตัวสะกดตัวตามภาษาบาลี

  1. คำบาลี เมื่อมีตัวสะกดต้องมีตัวตาม
  2. พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดได้ คือ พยัญชนะแถวที่ 1, 3, 5
  3. พยัญชนะแถวที่ 1 สะกด พยัญชนะแถวที่ 1, 2 ในวรรคเดียวกันตาม เช่น สักกะ ทุกข์ สัจจะ มัจฉา อิตถี หัตถ์ บุปผา ฯลฯ
  4. พยัญชนะแถวที่ 3 สะกด พยัญชนะแถวที่ 3, 4 ในวรรคเดียวกันเป็นตัวตาม เช่น พยัคฆ์ พุทธ อัคคี อัชฌาสัย อวิชชา ฯลฯ
  5. พยัญชนะแถวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น สังข์ องค์ สงฆ์ สัญชาติ สัณฐาน สันดาป สันธาน สัมผัส สัมพันธ์ คัมภีร์ อัมพร ฯลฯ
  6. พยัญชนะเศษวรรค เป็นตัวสะกดได้บางตัว เช่น อัยกา มัลลิกา วิรุฬห์ ชิวหา ฯลฯ

ตัวอย่างคำภาษาบาลี

คำยืมจากภาษาบาลี
ความหมาย
คำยืมจากภาษาบาลี
ความหมาย
กิตติคำเล่าลือ, คำสรรเสริญภริยาภรรยา, เมีย
กิเลสเครื่องทำใจให้หมองเศร้ามัจจุราชพญายม
กิริยาการกระทำมัจฉาปลา
กีฬากิจกรรมหรือการเล่นมัชฌิมปานกลาง
เขตแดนที่กำหนดขีดคั่นไว้มหันต์ใหญ่, มาก
ขณะครู่, ครั้งเมตตาความรักและเอ็นดู
คิมหันต์ฤดูร้อนมิจฉาผิด
จตุบทสัตว์สี่เท้ามเหสีชายของพระเจ้าแผ่นดิน
จิตใจมุสาเท็จ, ปด
จุฬายอด, หัว, มงกุฏมัสสุหนวด
โจรผู้ร้ายที่ลักขโมยรัตนาแก้ว
เจดีย์สิ่งซึ่งก่อมียอดแหลมโลหิตเลือด
จุติการกำเนิดวัตถุสิ่งของ
ฉิมพลีไม้งิ้ววิชาความรู้
ญาติคนในวงศ์วานวิญญาณความรับรู้
ดิถีวันตามจันทรคติวิตถารมากเกินไป, พิสดาร
ดาราดาว, ดวงดาววิริยะความเพียร
ดุริยะเครื่องดีดสีตีเป่าวิสุทธิ์สะอาด, หมดจด
เดชะอำนาจวุฒิภูมิรู้
ทัพพีเครื่องตักข้าวสงกาความสงสัย
ทิฐิความอวดดื้อถือดีสังข์ชื่อหอยชนิดหนึ่ง
นาฬิกาเครื่องบอกเวลาสงฆ์ภิกษุ
นิพพานความดับสนิทแห่งกิเลสสูญทำให้หายสิ้นไป
นิลุบนบัวขาบสิริศรี, มิ่งขวัญ, มงคล
ปฏิทินแบบสำหรับดูวัน เดือน ปีสันติความสงบ
ปฏิบัติดำเนินการไปตามระเบียบแบบแผนสัญญาณเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยิน
ปฐพีแผ่นดินเสมหะเสลด
ปกติธรรมดาสัจจะความรู้สึก
ปัญญาความรอบรู้สติความรู้สึก
ปัจจัยเหตุอันเป็นทางให้เกิดผลโสมนัสความสุขใจ
บุคคลคนอิทธิฤทธิ์
บัลลังก์ที่นั่งอัคคีไฟ
บุปผาดอกไม้อัจฉรานางฟ้า
โบกขรณีสระบัวอนิจจาคำที่อุทานแสดงความสงสารสังเวช
ปฐมลำดับแรกอัชฌาสัยนิสัยใจคอ
ปัญหาข้อสงสัย, ข้อขัดข้องอายุเวลาที่ดำรงชีวิตอยู่
พยัคฆ์ชื่อพระผู้เป็นเจ้าสร้างโลกโอวาทคำแนะนำ, คำตักเตือน
ภัตตาอาหารโอรสลูกชาย
ภิกขุภิกษุโอกาสช่อง, ทาง
คำที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤต
  1. ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย มีรูปคำสละสลวย ไพเราะ นิยมใช้เป็นคำราชาศัพท์ ภาษาในวรรณคดี ชื่อบุคคล และสถานที่ ฯลฯ
  2. ข้อสังเกตและตัวอย่างคำภาษาสันสกฤต นิยมใช้  เช่น กรีฑา จุฑา ครุฑ ไพฑูรย์ วิฑาร ฯลฯ
  3. นิยมใช้ รร เช่น กรรณ ขรรค์ ครรภ์ ธรรม พรรษา บรรพต วรรค วรรณะ มหัศจรรย์ สรรพ สวรรค์ สุวรรณ อัศจรรย์ ฯลฯ
  4. นิยมมีอักษรควบกล้ำ เช่น กษัตริย์ เกษตร ตรุษ บุตร ปราชญ์ ปรารถนา พฤกษ์ เนตร ไมตรี ศาสตรา อาทิตย์ ฯลฯ
  5. ใช้ ศ ษ ประสมคำเป็นส่วนมาก เช่น กษัย เกษม เกษียณ ทักษิณ ทัศนีย์ บุษกร บุรุษ เพศ ภิกษุ มนุษย์ วิเศษ ศิลปะ ศิษย์ ศึกษา ศุกร์ ศูนย์ เศียร อักษร อัธยาศัย ฯลฯ ใช้ ส นำหน้าพยัญชนะวรรค ตะ (ต ถ ท ธ น) เช่น พัสดุ พิสดาร สตรี สถาน สถิต สถิติ สถาปนา สนธยา สัตย์ สันโดษ อัสดง ฯลฯ
  6. ประสมด้วยสระ ไอ เอา ฤ ฤ ๅ ฦ ฦ ๅ เช่น ไศล ไศวะ ไวทย์ ไวษณพ ไวยากรณ์ ไวศฺย ไอราวัณ ไอยรา เกาศัย เอารส ฤดี ฤทัย ฤทธิ์ ฤๅษี กฤษณา พฤติกรรม พฤษภาคม ทฤษฎี นฤมล มฤตยู ฦๅชา ฦๅสาย ฯลฯ
  7. มีหลักเกณฑ์ตัวสะกด ตัวตามไม่แน่นอน กัลป์ การบูร กีรติ โกรธ จักร จันทรา ดัสกร ทรัพย์ นิตยา ประพันธ์ ประพฤติ พยายาม ลักษณะ วิทยุ มนตรี มัตสยา มัธยม ศัพท์ ศาสนา ศาสตรา อาชญา อาตมา อาจารย์ อุทยาน ฯลฯ

ตัวอย่างคำภาษาสันสกฤต

คำยืมจากภาษาสันสกฤต
ความหมาย
คำยืมจากภาษาสันสกฤต
ความหมาย
กัลบกช่างตัดผมมฤตยูความตาย
กรรณหู, ใบหูมนุษย์สัตว์ที่มีจิตใจสูง
กรรมการกระทำมนัสใจ
กษัตริย์พระเจ้าแผ่นดินมารุตลม
กัลป์อายุของโลกมิตรเพื่อน
การบูรชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่งมนตรีที่ปรึกษา
กีรติเกียรติไมตรีความหวังดีต่อกัน
โกรธขุ่นเคืองใจมหัศจรรย์แปลกประหลาดมาก
กรีฑากีฬาประเภทหนึ่งยักษายักษ์
กษัยการสิ้นไปวรรคตอน
เกษียณสิ้นไปวรรณะสี
เกษียรน้ำนมวัสดุวัตถุที่นำมาใช้
เกษตรที่ดิน, ทุ่ง, นา, ไร่พรรษาช่วงระยะเวลา 3 เดือน
ครรชิตเอิกเกริก, กึกก้องพยายามทำโดยมานะ
ครรภ์ท้องพฤศจิกายนชื่อเดือนที่ 11
จักรอาวุธในนิยายวิทยุเครื่องรับวิทยุ
จักรวาลบริเวณโดยรอบของโลกพิสดารแปลกพิลึก
จันทราดวงเดือนวิเศษยอดเยี่ยม, เลิศลอย
จุฑายอด, หัวมงกุฏเพศรูปที่แสดงให้รู้ว่าหญิงหรือชาย
ดัสกรข้าศึกศัพท์เสียง, คำ
ทรมานทำให้ลำบากศาสนาลัทธิความเชื่อ
ทรัพย์เงินตราศาสตราศัตรา, อาวุธ
ทฤษฎีเอาตามหลักวิชาศึกษาการเล่าเรียน
ทิศด้านศิลปะฝีมือทางการช่าง
ทหารผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบศิษย์ผู้ศึกษาวิชาความรู้
ทัศนีย์น่าดู, งามศุกร์ชื่อวันที่ 6 ของสัปดาห์
ทิพย์เป็นของเทวดาศูนย์ว่างเปล่า
นักษัตรดาว, ดาวฤกษ์ศรีสิริมงคล, ความรุ่งเรือง
นมัสการการกราบไหว้เศียรหัว
นาทีชื่อหน่วยเวลาสัตย์ความจริง
นฤคหิตชื่อเครื่องหมายสันโดษมักน้อย
นิตยาสม่ำเสมอสมปฤดีความรู้สึกตัว
นิทราการหลับสตรีผู้หญิง
นฤมลไม่มีมลทินสวรรค์โลกของเทวดา
เนตรดวงตาสรรพทุกสิ่ง, ทั้งปวง
บุษบาดอกไม้สุวรรณทอง
บรรพตภูเขาสถาปนาแต่งตั้งให้สูงขึ้น
บุษกรดอกบัวสีน้ำเงินสดุดีคำยกย่อง
บุรุษผู้ชายสกลสากล
ประเทศบ้านเมือง, แว่นแคว้นสกุลตระกูล, วงศ์
ประทีปไฟที่มีเปลวสว่างอักษรตัวหนังสือ
ประพันธ์แต่ง, เรียบเรียงอาตมาตัวเอง
ประพฤติการกระทำอัศจรรย์แปลก, ประหลาด
ประเวณีการเสพสังวาสอัธยาศัยนิสัยใจคอ
ประมาทขาดความรอบคอบอารยะเจริญ
ประโยคข้อความที่ได้รับความบริบูรณ์อวกาศบริเวณที่อยู่นอกโลก
ประถมลำดับแรกอาจารย์ผู้สั่งสอนวิชาความรู้
ภักษาอาหารอาทิตย์ดวงอาทิตย์
ภิกษุชายที่บวชอุทยานสวน

ข้อแตกต่างของภาษาบาลีและสันสกฤต
ภาษาบาลี สันสกฤต เป็นภาษาตระกูลเดียวกัน และมีแหล่งกำเนิดที่ประเทศอินเดียเหมือนกัน จึงมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก แต่มีข้อแตกต่างที่เปรียบเทียบได้ดังนี้


ข้อสังเกตเพิ่มเติมสำหรับคำที่ใช้ในภาษาบาลี-สันสกฤต คือ

  1. คำบาลีมี ณ อยู่หลัง ร เช่น นารายณ์ พราหมณ์ สาราณียกร ฯลฯ
  2. คำที่มี “เคราะห์” อยู่ในคำจัดเป็นคำสันสกฤต เช่น พิเคราะห์ สงเคราะห์ สังเคราะห์ ฯลฯ
  3. คำที่ประสมสระไอ เอ ถ้าเป็นสระที่เกิดจากการแผลงคำขึ้นใช้ในภาษาไทยไม่นับว่าเป็นภาษาสันสกฤต เช่น
    มโหฬาร=มเหาฬาร
    โอฬาร=เอาฬาร
    นิพพาน=นฤพาน
    เทยฺยทาน=ไทยทาน
    อุปเมยฺย=อุปไมย
    เวยเนยฺย=เวไนย
  4. คำที่ใช้ ศ ษ จัดเป็นคำไทยที่รับมาจากภาษาสันสกฤต ยกเว้น
    ศอก
    ศก
    ศึก
    ศอ
    เศร้า
    เลิศ
    กระดาษ
    ดาษดา
    ดารดาษ
    อังกฤษ
  5. คำที่ใช้ “รร” ซึ่งเป็นคำไทยที่เกิดจากการแผลงไม่นับเป็นสันสกฤต เช่น กรรเช้า ครรไล บรรเลง

การนำเอาคำภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย

  1. เลือกรับคำภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น
    • เลือกรับแต่คำภาษาบาลี เช่น กังขา ขันติ จุติ เมตตา วินิจฉัย วิสัญญี ฯลฯ
    • เลือกรับแต่คำภาษาสันสกฤต เช่น จักรพรรดิ ตรรกะ ทรัพย์ ปรารถนา รักษา ฯลฯ
    • เลือกใช้รูปคำภาษาสันสกฤตแต่ใช้ความหมายของภาษาบาลี เช่นเปรต (ส.) แปลว่า ผู้ที่ตายไปแล้ว, วิญญาณของบรรพบุรุษ เปต (บ.) แปลว่า ผู้ที่ตายไปแล้ว, สัตว์ในอบายภูมิประเภทหนึ่งซึ่งรับผลกรรมตามที่เคยทำไว้ ไทยใช้รูปคำตามภาษาสันสกฤต คือ “เปรต” ในความหมายของภาษาบาลี คือ สัตว์ในอบายภูมิประเภทหนึ่งซึ่งรับผลกรรมตามที่เคยทำไว้ปรเวณี (ส.) แปลว่า ผมเปีย, ผ้าซึ่งทอจากเปลือกไม้ย้อมสี ปเวณี (บ.) แปลว่า ผมเปีย, ผ้าซึ่งทอจากเปลือกไม้ย้อมสี, สิ่งที่สังคม ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง ไทยใช้รูปคำตามภาษาสันสกฤต คือ “ประเพณี” ในความหมายของภาษาบาลี คือ สิ่งที่สังคมปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง
  2. รับมาทั้งสองภาษาในความหมายเดียวกัน เช่น บาลี สันสกฤต ไทยใช้ความหมาย กญฺญา กนฺยกา กัญญา, กันยา หญิงสาว ถาวร สฺถาวร ถาวร, สถาพร มั่นคง, แข็งแรง ธุช ธวช ธุช, ธวัช ธง
  3. รับมาทั้งสองภาษาแต่ใช้ในความหมายที่ต่างกัน เช่น บาลี สันสกฤต ไทยใช้ความหมาย เขตฺต เกฺษตฺร – นา, ไร่, บริเวณ, แดน เขต บริเวณ, แดน เกษตร นา, ไร่ สามญฺญ สามานฺย – ชั่วช้า, ทั่วไป สามัญ ทั่วไป สามานย์ ชั่วช้า


" เทคนิคการดูภาษาบาลี โดย อาจารย์ลำพูน "





ที่มาข้อมูล : http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?id=64977




จัดทำโดย

นักเรียนชั้น ม.6/2 


กลุ่มภาษาบาลีและสันสกฤติ


นางสาวธนัชชา สัมโย เลขที่ 15

นางสาวศิริกานต์ คะสาราช เลขที่ 16

นางสาวกนกพร นันทจักร์ เลขที่ 35


ความคิดเห็น